Pages

Friday, August 21, 2020

รู้ก่อนรวยก่อน! เจาะตลาดเมียนมาอย่างไร ให้ประสบความสำเร็จ - ผู้จัดการออนไลน์

sebelumselamanya.blogspot.com


ประเทศเพื่อนบ้านอย่าง “เมียนมา” นับเป็นตัวเลือกที่ดีไม่น้อย สำหรับผู้ประกอบการไทยที่กำลังมองหาตลาดเพื่อการส่งออกสินค้า เพราะในปัจจุบันมีประชากรที่จัดอยู่ในกลุ่มผู้ที่มีรายได้ระดับปานกลางถึงระดับสูงเพิ่มขึ้น ทำให้มีกำลังซื้อที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยเห็นได้จากในรอบ 5 ปีที่ผ่านมานี้ได้มีการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) กว่า 6-8% จึงเป็นอีกประเทศในกลุ่ม CLMV ที่น่าจับตามอง

แต่ใช่ว่าทุกธุรกิจจะสามารถเจาะตลาดเมียนมาแล้วจะประสบความสำเร็จได้ แต่ต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจในประเทศเมียนมาเป็นอย่างมาก ทางสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (NEA) จึงได้ลิสต์เรื่องต้องรู้ พร้อมทริคดีๆ ที่จะช่วยพิชิตใจชาวเมียนมาให้อยู่หมัด จากโครงการสัมมนา “ติวเข้ม…เจาะตลาดเมียนมา” มาฝากกัน ดังนี้


รู้ลึก รู้ใจผู้บริโภคในเมียนมา

ผู้ประกอบการไทยควรจะศึกษาและเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคในเมียนมา เพื่อมองหาโอกาสในการทำธุรกิจก่อนจะลงสนามจริง ซึ่งมีพฤติกรรมที่ควรรู้ไว้ดังนี้

1.เมืองที่เหมาะสำหรับไปบุกตลาดในเมียนมา คือเมืองเศรษฐกิจอย่าง ย่างกุ้ง ที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศเมียนมา เพราะมีประชากรอาศัยอยู่มากที่สุด และมีพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยที่สูงกว่าเมืองอื่นๆ

2.ประชากรส่วนใหญ่เป็นวัยทำงานกว่า 34.5 ล้านคน และมีรายได้อยู่ในระดับปานกลางไปจนถึงระดับสูง ทำให้มีกำลังซื้อที่มากขึ้น จึงหันมาสนใจสินค้าที่ช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันและสินค้าฟุ่มเฟือยเพิ่มขึ้น รวมถึงเริ่มหันมารับประทานอาหารนอกบ้านมากขึ้น และสนใจทำกิจกรรมยามว่างหรือกิจกรรมในวันหยุดร่วมกับครอบครัวหรือเพื่อน เช่น ไปคอนเสิร์ต ไปเดินงาน Trade Fairs เป็นต้น

3.ผู้บริโภคกว่า 70-80% นิยมซื้อสินค้าผ่านตลาดทั่วไป (Traditional Trade) เพราะเป็นสินค้าที่ราคาไม่สูง สามารถหาซื้อได้ง่าย และมักจะเป็นแบบแยกขาย ซึ่งตรงกับความต้องการของชาวเมียนมาที่นิยมซื้อสินค้าครั้งละไม่กี่ชิ้น โดยส่วนมากร้านที่นิยมซื้อจะเป็นร้านตึกแถวที่พ่อค้าคนกลางรับสินค้าจากผู้ผลิตหรือตัวแทนจัดจำหน่ายมาขายยังหน้าร้านอีกที

4.ผู้บริโภคกว่า 20% ซื้อสินค้าผ่านห้างสรรพสินค้า (Modern Trade) ถึงแม้สัดส่วนจะน้อย แต่มีแนวโน้นที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นและคนรุ่นใหม่มักจะซื้อสินค้าผ่านห้างสรรพสินค้าเป็นหลัก เพราะมั่นใจในคุณภาพ มีบริการที่ดี มีความทันสมัย และสะดวกสบายกว่า


สินค้า Made in Thai ที่ได้ใจชาวเมียนมา

สินค้าไทยในสายตาชาวเมียนมามองว่า เป็นสินค้าที่ดี มีคุณภาพ โดยเฉพาะสินค้าที่เป็นแบรนด์ของผู้ประกอบการไทยเอง ทำให้ในปีที่ผ่านมามีมูลค่าการส่งออกถึง 4,364 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยสินค้าที่กำลังมาแรงและมีแนวโน้มจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีดังนี้

1.อาหารและเครื่องดื่ม เช่น อาหารสำเร็จรูป เครื่องปรุงรส ชา และกาแฟ

2.สินค้าที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ทั้งเพื่อการอุปโภคและบริโภค

3.สินค้าที่เกี่ยวกับสุขภาพและความงาม เช่น เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์ดูแลผิว

4.สินค้าเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้าง เช่น เหล็กและเหล็กกล้า

5.อะไหล่รถยนต์และรถจักรยานยนต์


ช่องทางการตลาดที่ดีย่อมได้เปรียบ

1.Trade Fairs นอกจากจะเป็นช่องทางที่ได้ไปแนะนำสินค้าแล้ว ยังเป็นโอกาสได้พบปะพูดคุยกับผู้บริโภคจำนวนมาก เพื่อทดลองตลาดดูว่าสินค้าของคุณเป็นที่ต้องการในประเทศเมียนมาจริงไหม หรือควรดึงจุดขายในส่วนไหนถึงจะได้ใจชาวเมียนมา โดยสามารถร่วมออกบูธกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ เช่นงาน Top Thai Brands, Yangon ซึ่งถือเป็นมหกรรมแสดงสินค้าที่ใหญ่ที่สุดจากประเทศไทย เป็นต้น

2.Distributors หรือตัวแทนจัดจำหน่าย สำคัญอย่างมากในการกระจายสินค้าไปยังเมียนมา โดยเฉพาะถ้าธุรกิจของคุณไม่ได้เข้าไปตั้งบริษัทหรือจดทะเบียนบริษัทเองในเมียนมา ซึ่งการมีตัวแทนจำหน่ายเป็นคนท้องถิ่นย่อมเข้าใจในภาษาและวัฒนธรรมได้ดีกว่า โดยตัวแทนอาจจะนำสินค้าไปจำหน่ายเองโดยตรง หรือกระจายสู่ผู้ค้าปลีกในตลาดทั่วไป (Traditional Trade) หรือในห้างสรรพสินค้า (Modern Trade) ขึ้นอยู่กับว่าสินค้าของคุณเป็นสินค้าอะไรและเหมาะกับผู้บริโภคแบบไหนด้วย


ควรรู้กฎหมายและข้อบังคับที่สำคัญ

สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการควรรู้อีกประการหนึ่งคือ เรื่องกฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับ ซึ่งจะช่วยให้การส่งออกสินค้าไปยังประเทศเมียนมาเป็นไปอย่างราบรื่น โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.กฎหมายสำคัญ ได้แก่ กฎหมายการค้า กฎหมายภาษีอากร กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎข้อบังคับทางบัญชี ภาษี การจดทะเบียน การแต่งตั้งตัวแทนการค้า ผู้จัดจำหน่าย

2.ใบอนุญาตนำเข้า โดยการส่งออกสินค้าไปยังประเทศเมียนมาจำเป็นต้องมีเอกสารใบอนุญาตนำเข้าที่กระทรวงพาณิชย์ของประเทศเมียนมาเป็นผู้ออกให้ หรือหากเป็นสินค้าบางประเภทที่ต้องมีการรับรองต้องขอใบอนุญาตเพิ่มเติมไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเมียนมา เช่น เครื่องสำอาง อาหาร และ ต้องมีการขอใบ FDA เป็นต้น

3.ฉลากสินค้าต้องเป็นภาษาเมียนมา เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดในการคุ้มครองผู้บริโภคเมียนมา สินค้าไทยที่ส่งออกไปจะต้องระบุเนื้อหาสำคัญบนฉลากเป็นภาษาเมียนมาทั้ง ชื่อสินค้า ขนาด ปริมาณ น้ำหนักสุทธิ คำแนะนำการจัดเก็บ คำแนะนำการใช้ และคำเตือน

ขอบคุณข้อมูลจาก สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (NEA) โครงการสัมมนา “ติวเข้ม…เจาะตลาดเมียนมา”

*
* *
คลิกLikeเพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า"SMEsผู้จัดการ"
รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมายคลิกที่นี่เลย!!
* * *

SMEs manager


Let's block ads! (Why?)


August 22, 2020 at 09:07AM
https://ift.tt/3aKgLZY

รู้ก่อนรวยก่อน! เจาะตลาดเมียนมาอย่างไร ให้ประสบความสำเร็จ - ผู้จัดการออนไลน์
https://ift.tt/36KG1NQ
Home To Blog

No comments:

Post a Comment