Pages

Thursday, July 9, 2020

อดีตแกนนำพันธมิตรฯยกประวัติศาสตร์ถ้า'นิรโทษกรรม'ก่อนการ'ปรองดอง'สังคมไทยได้อะไร - ไทยโพสต์

sebelumselamanya.blogspot.com

10 ก.ค. 63 - นายพิภพ ธงไชย อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โพสต์ความเห็น เรื่อง  "ปรองดอง-นิรโทษกรรม นิรโทษกรรม-ปรองดอง เพื่อลดความเกลียดชังของทุกฝ่าย"

ตอนนี้สังคมไทยกำลังถกเถียงกันว่า ระหว่างคำว่า "ปรองดอง" จะหมายถึง "นิรโทษกรรม" ด้วยหรือไม่ และคำว่า "ปรองดอง" หมายถึงอะไร มีขอบเขตแค่ไหน จะไปถึงไหน และมีเครื่องมืออะไรที่จะทำให้เกิดการปรองดองได้

และสังคมจะได้อะไรจากการปรองดอง และถ้าไม่มี "นิรโทษกรรม" จะทำให้เกิดการปรองดองไหม กับคำถามของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ณ กาลครั้งหนึ่ง ที่เคยถามออกมาดังๆ ว่า "จะปรองดองกับใคร"

การนิรโทษกรรม เกิดขึ้นหลายครั้งในประวัติศาตร์โลกและประวัติศาสตร์ชาติไทย การนิรโทษกรรมของไทยที่มีชื่อเสียงและถูกนำมาอ้างถึงเสมอก็คือ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 สมัยนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ที่ออกเมื่อ 23 เมษายน 2523

และที่เถียงกันว่า ถ้า "นิรโทษกรรม" ก่อน จะเกิดการ "ปรองดอง" ไหม และสังคมไทยจะได้อะไร ถ้าเปรียบเทียบกับคำสั่ง "66/2523"

วันนี้นักเคลื่อนไหวในสังคมไทย เอาคำว่า "นิรโทษกรรม" นำหน้าคำว่า "ปรองดอง" พรรคการเมืองขานรับคำว่า "นิรโทษกรรม" เพราะเริ่มรู้สึกว่าเรื่องนี้ควรจะเกิดได้แล้ว เพื่อ "ลดความเกลียดชังและความเคียดแค้น" ระหว่างประชาชนทั้งสองฝ่ายที่เริ่มมาจากหลังวิกฤตการเมือง 2548

การลดความเกลียดชังและความเคียดแค้น การเหยียดผิว ระหว่างสีผิวในระดับโลก ก็คือการตั้ง “คณะกรรมการแสวงหาความจริงเพื่อความสมานฉันท์ - Truth and Reconciliation Commission - TRC “ หรือ “แมนเดลาโมเดล” ของอาฟริกาใต้ โดยขอให้ สาธุคุณ เดสมอนด์ ตูตู มาเป็นประธาน จุดประสงค์ของงานนี้ของสาธุคุณตูตูคือ “ขจัดความเกลียดชังระหว่างผิวขาวกับผิวดำ” โดยที่คนผิวขาวนอกจากมีความเกลียดชังต่อคนผิวดำแล้ว คนผิวขาวยังมีอำนาจการปกครอง ออกกฎหมาย มีอำนาจตำรวจจัดการคนผิวดำมายาวนาน

เมื่อเกิดการสมานฉันท์แล้ว ก็เกิดประชาธิปไตยนำไปสู่การเลือกตั้งเข้าสู่อำนาจ ซึ่งคนผิวดำได้ประโยชน์เรื่องนี้ กลายเป็นชนชั้นปกครอง คนผิวขาวเป็นผู้ถูกปกครอง ทำให้ความเกลียดชังของมวลชนระหว่างสีผิวได้ลดลงไปจนเกือบไม่เป็นปัญหาระดับประเทศหรือระดับโลก

แต่ปัญหานั้นกลับไปผุดที่สหรัฐอเมริกาแทน ซึ่งฝั่งรากลึกของความเกลียดชังระหว่างสีผิวมานานนับร้อยปี และตัวประธานาธิบดี นายโดนัลด์ ทรัมป์ นั้น ก็จัดการ “ความขัดแย้งแบบเสริมความเกลียดชัง” ให้มากขึ้นอีก ท่ามกลางการระบาดอย่างรุนแรงของไวรัสโคโรนา 2019

กลับมาประเทศไทย ในสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นั้น การออกคำสั่ง 66/2523 ไม่ใช่การปลดปล่อยสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยให้พ้นจากคดีความตามกฎหมาย แต่เป็นการปลดปล่อยอารมณ์ความรู้สึกของมวลชนทั้งฝ่ายรัฐบาลไทยที่นิยมระบอบทุนนิยม ที่อิงกับสหรัฐอเมริกา และปลดปล่อยมวลชนที่นิยมระบอบการปกครองคอมมิวนิสต์ ที่อิงกับจีนแผ่นดินใหญ่ และต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองหลัง 2475 ใหม่ จากประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญไปสู่การปกครองระบบพรรคเดียว คือพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

ในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้น 3 ชุด ชุดหนึ่งคือ “คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองแห่งชาติ - คอป. โดยเชิญนายคณิต ณ นคร เป็นประธาน และอีกสองชุด มี นายอานันท์ ปันยารชุน กับนายแพทย์ประเวศ วะสี เป็นประธาน

ชุดแรกนั้นตั้งใจเลียนแบบ คณะกรรมการ TRC ของแอฟริกาใต้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการนำข้อเสนอนั้นมาตราเป็นกฎหมายบังคับใช้ได้ จากนั้นมาก็มีความพยายามมาทุกรัฐบาล จนถึงรัฐบาลชุดปัจจุบัน

มาวันนี้ ถ้ามีการประกาศนิรโทษกรรมเช่นเดียวกับคำสั่ง 66/2523 ประโยชน์ที่แกนนำทุกฝ่ายได้รับนั้นน้อยนิด ไม่กี่สิบคนหรือร่วมกับมวลชนนับร้อยคนเท่านั้น แต่มวลชนทั้ง 3 ฝ่าย ที่มีจำนวนมากมายมหาศาลกว่าครึ่งประเทศ ทั้งมวลชนฝ่าย พธม. มวลชนฝ่าย นปช. มวลชนฝ่าย กปปส. ต่างหากที่จะลดความเกลียดชังลงไปได้

เพราะทุกครั้งที่มีการตัดสินคดีความในศาล มวลชนทั้ง 3 ฝ่ายต่างแสดงความเกลียดชังและความเคียดแค้นออกมาในโลกของสังคมออนไลน์ โดยมีการกระตุ้นความเกลียดชังจากปัญญาชนระดับชนชั้นนำ ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ หรือศิลปินแห่งชาติ ด้วย

เหมือนกับประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อแกนนำทุกฝ่ายออกมารับผิด และขอโทษแล้ว จึงนำประเทศไปสู่การเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย การปกครองแบบปกติก็มาแทนที่ระบบการปกครองโดยชนกลุ่มน้อยที่เป็นฝรั่งผิวขาว ทำให้ความเกลียดชังและความเคียดแค้นในอดีตลดลงไปทันที

จริงอยู่ที่แอฟริกาใต้มีคนอย่างรัฐบุรุษ เนลสัน แมนเดลา มาทำงานในตำแหน่งประธานาธิบดี เพื่อสร้างความสามัคคีและความสมานฉันท์ โดยตั้งสาธุคุณ เดสมอนด์ ตูตู เป็นประธาน TRC.

เมืองไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข ที่ทรงมุ่งเป็นองค์พระประมุขของทุกฝ่าย เป็นสถาบันหลักของชาติ ที่ต้องการความรัก ความเคารพ จากประชาชนทุกฝ่าย เพื่อให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันของมวลชนทุกหมู่เหล่า ให้คงอยู่กับสังคมไทยตลอดกาลนาน

การนิรโทษกรรมแกนนำ จะนำไปสู่การลดความขัดแย้งและความเกลียดชังของมวลชนทุกฝ่ายได้ ความปรองดองก็จะเกิดตามมา และจะเป็นผลดีต่อสถาบันชาติ สถาบันศาสนา และสถานบันพระมหากษัตริย์ ชาติก็จะเดินต่อไปได้หลังเหตุการณ์ระบาดของไวรัส COVID - 19

ที่สำคัญ การปรองดองจะเป็นการปลดปล่อยพลังความเกลียดชังและความเคียดแค้นในอดีต มาสู่พลังสร้างสรรค์ในอนาคต เพื่อไปปฏิรูปประเทศ ที่นำไปสู่การลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำที่มีมากขึ้น...มากขึ้น จนมีความยากลำบากที่จะลดช่องว่างนี้ลงได้ในเร็ววัน ถ้าไม่ทำให้พลังทุกฝ่ายลดความเกลียดชังมาเป็น "พลังแห่งความรัก" และ "พลังแห่งความสมานฉันท์" ที่ทุกฝ่ายกลับมาทำงานร่วมกัน เช่นที่คำสั่ง 66/2523 ทำสำเร็จลุล่วงมาแล้ว

แต่ถ้าไม่มีนิรโทษกรรม แล้วที่จะนำไปสู่การปรองดอง ความเกลียดชังและความเคียดแค้นในอดีต จะคงดำรงอยู่ในหมู่ประชาชนระหว่างฝ่าย และความเกลียดชังนั้นอาจแปรผันไปสู่ความเกลียดชังต่อชนชั้นผู้ปกครอง ที่มีอำนาจในการออก พรบ.นิรโทษกรรม และสร้างความปรองดอง แล้วกลับไม่กล้าทำ

ทำให้อาจถูกตีความได้ว่า ชนชั้นปกครองไทย มีนโยบาย "แบ่งแยกแล้วปกครอง" บนความเกลียดชังและความความเคียดแค้นในอดีต

ซึ่งอาจนำไปสู่เงื่อนไขการเกิดความรุนแรงที่ในช่วงรอยต่อระยะการเปลี่ยนผ่านตามที่มาร์กซิสต์ชาวอิตาเลียน อันโตนิโอ กรัมซี่ กล่าวไว้

“ระบอบเก่าเสื่อมแต่ยังไม่สุด ส่วนระบบใหม่กำลังเกิด แต่ยังไม่เป็นตัวเป็นตน”

พิภพ ธงไชย
10 กรกฎาคม 2563

ปล. ความคิดนี้ พัฒนามาจากเวทีเสวนา"การผนึกทุกภาคส่วน ร่วมวางอนาคตประเทศไทย"
จัดโดยคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา'35ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2563

Let's block ads! (Why?)


July 10, 2020 at 06:47AM
https://ift.tt/3gIDU0D

อดีตแกนนำพันธมิตรฯยกประวัติศาสตร์ถ้า'นิรโทษกรรม'ก่อนการ'ปรองดอง'สังคมไทยได้อะไร - ไทยโพสต์
https://ift.tt/36KG1NQ
Home To Blog

No comments:

Post a Comment