ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเหตุการณ์ สูญพันธุ์ครั้งใหญ่ปลายยุคออร์โดวิเชียน (Ordovician) เมื่อประมาณ 450 ล้านปีก่อนนั้นเชื่อมโยงกับจุดสิ้นสุดของยุคน้ำแข็ง ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นและระดับออกซิเจนในมหาสมุทรลดลง ผลที่ตามมาก็คือประมาณ 85% ของสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลทั้งหมดตายไปในช่วงเวลาที่ทวีปในปัจจุบันส่วนใหญ่ก่อตัวเป็นมหาทวีปแพนเจีย (Pangea)
แต่เมื่อไม่นานนี้มีการศึกษาใหม่ของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮัลล์ ในอังกฤษ ชี้ให้เห็นว่าการปะทุของภูเขาไฟได้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากพอที่จะทำให้โลกร้อนขึ้นและกำจัดออกซิเจนในมหาสมุทร ทำให้สิ่งมีชีวิตหลายสายพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในน้ำขาดอากาศหายใจ นั่นหมายความว่าการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ครั้งแรกของโลกอาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากการปะทุของภูเขาไฟนั่นเอง
สิ่งที่ทำให้คิดเช่นนั้นก็เพราะหลังจากนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮัลล์ ร่วมงานกับผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานสำรวจทางธรณีวิทยาในแคนาดา รวบรวมหินจากยุคออร์โดวิเชียนที่ได้จากลำธารเล็กๆ ทางตอนใต้ของสกอตแลนด์มาทดสอบ เมื่อหินเหล่านั้นถูกทำให้ร้อนพวกมันก็ปล่อยสารปรอทออกมาจำนวนมาก ซึ่งแสดงถึงสัญญาณการปะทุของภูเขาไฟในช่วงเวลานั้นในอดีต.
อ่านเพิ่มเติม...
June 30, 2020 at 08:01AM
https://ift.tt/38bSfje
สาเหตุการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ 450 ล้านปีก่อน - ไทยรัฐ
https://ift.tt/36KG1NQ
Home To Blog
No comments:
Post a Comment