Pages

Wednesday, July 1, 2020

เตือนเช็กก่อนโอน "การเปิดบัญชีรับเงินบริจาค" แบบไหนถูกกฎหมาย - ไทยรัฐ

sebelumselamanya.blogspot.com

คนทั่วไปเปิดรับบริจาคเองได้ไหม

ส่วนการเปิดรับบริจาคเองทำได้หรือเปล่านั้น หากทำในที่สาธารณะ ได้แก่ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ เช่น การเปิดรับบริจาคน้ำท่วมโดยสถานีโทรทัศน์ต่างๆ จะต้องขออนุญาตจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย โดยทำเป็นหนังสือ ระบุ

  • วัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม
  • ระบุวิธีเรี่ยไร
  • ระบุจำนวนเงินที่ต้องการเรี่ยไร
  • ระบุสถานที่เรี่ยไร
  • ระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดกิจกรรมเรี่ยไร

ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่สวนจตุจักร เมื่อเราพบเห็นผู้รับบริจาคยืนเปิดกล่องรับบริจาค จะต้องขอหนังสืออนุญาตจากกรมการปกครอง และต้องพกเอกสารนี้ไว้เพื่อให้ตรวจสอบได้ง่ายด้วย

และหากอยู่ในเขตพื้นที่อื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ผู้รับบริจาคก็ต้องขออนุญาตจากที่ว่าการอำเภอ

การเปิดบัญชี รับเงินบริจาค มีขั้นตอนอย่างไร

การเปิดรับบริจาคโอนเข้าบัญชี หรือรับสิ่งของนั้น ไม่ได้มีระบุว่าห้ามเปิดบัญชีในชื่อผู้ขอรับบริจาค แต่ไม่เป็นที่นิยมทำ เนื่องจากการโอนเข้าบัญชีชื่อบุคคลจะมีผลต่อการตรวจสอบรายได้ ต้องยื่นกับกรมสรรพากร จึงมักนิยมเปิดบัญชีในนามมูลนิธิ เพื่อการตรวจสอบง่าย และเป็นประโยชน์ให้ผู้บริจาคใช้ใบเสร็จไปลดหย่อนภาษีได้


แต่กฎหมายก็มีระบุเกี่ยวกับการเรี่ยไรไว้ว่า

ผู้เปิดรับบริจาคต้องมีอายุ 16 ปีขึ้นไป
ผู้เปิดรับบริจาคต้องไม่มีจิตฟั่นเฟือน ไม่เป็นโรคติดต่อที่น่ารังเกียจ
ผู้เปิดรับบริจาคต้องไม่เคยต้องโทษฐานลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ โจรสลัด กรรโชก ยักยอกทรัพย์ รับของโจร
ผู้เปิดรับบริจาคต้องไม่เคยต้องโทษทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ. ควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ. 2487


โทษของการเปิดบัญชี รับเงินบริจาค แต่เก็บไว้เอง

หากตรวจสอบได้ว่ามีเจตนาฉ้อโกงหรือล่อลวง ผู้เปิดรับบริจาคจะได้รับโทษตามกฎหมายอาญา มาตรา 341 ว่าด้วยการฉ้อโกง

และหากเปิดรับผ่าน Social Media ก็อาจได้รับโทษใน พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (1)

รวมแล้วมีทั้งโทษจำคุก และปรับ


ดูวิธีตรวจสอบการรับบริจาคออนไลน์อย่างไรถึงมือผู้ประสบภัย

ตัวอย่างการบริจาคโควิดไปยังหน่วยงานรัฐที่น่าเชื่อถือในช่วงมีนาคม 2563 ที่ผ่านมา ประเทศไทยเราประสบปัญหาการระบาดของโรคโควิด-19 เช่นเดียวกับทั่วโลก มีหลายหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชน ที่เปิดรับบริจาคเพื่อช่วยเหลือหน่วยงานต่างๆ

การเปิดรับบริจาคลักษณะนี้ค่อนข้างกระชั้นชิด และเร่งด่วน ยากต่อการตรวจสอบ เพราะวัตถุประสงค์เน้นไปที่การหาชุดและอุปกรณ์ป้องกันให้กับบุคลากรทางการแพทย์ไว้ต่อสู้กับเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

จะสังเกตเห็นว่า ข่าวดาราที่ออกมาบริจาคเงินหลักล้าน มักบริจาคตรงไปที่มูลนิธิของโรงพยาบาลเป็นหลัก ไม่ได้โอนเข้าบัญชีเปิดรับบริจาคส่วนตัวของบุคคล

ลักษณะการเปิดรับบริจาคที่น่าเชื่อถือจากหน่วยงานรัฐ ตามหลักเกณฑ์ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานรัฐ พ.ศ.2544


กรณีมีการเรี่ยไร ห้ามมิให้หน่วยงานรัฐดำเนินการต่อไปนี้

  • กำหนดประโยชน์ผู้บริจาคหรือบุคคลอื่น ที่ไม่ใช่หน่วยงานรัฐประกาศไว้
  • กำหนดมูลค่าของเงินหรือทรัพย์สินที่แน่นอน
  • กระทำการให้บุคคลใดจำยอมมาบริจาคโดยเลือกปฏิเสธไม่ได้ ทั้งทางตรงและทางอ้อม
  • ใช้คำสั่งขอร้อง หรือบังคับให้บริจาค ด้วยอำนาจเจ้าหน้าที่รัฐ

ดังนั้นวิธีการดูบัญชีที่ถูกเปิดมาเพื่อรับบริจาค ก็พิจารณาได้จากความน่าเชื่อถือดังนี้

  • เป็นบัญชีที่เปิดในนามมูลนิธิที่มีตัวตน ออกใบเสร็จรับเงินได้ชัดเจน
  • เป็นนามหน่วยงานรัฐ เพราะตรวจสอบได้ทางกฎหมาย
  • เป็นนามหน่วยงานนิติบุคคล (บริษัทฯ, องค์กร) เพราะตรวจสอบได้ทางกฎหมาย


Q : เปิดรับบริจาคโอนเข้าบัญชีตัวเอง ทำได้ไหม

A : ทำได้ แต่ต้องขออนุญาตในเขตพื้นที่อำเภอ ที่มีการเปิดรับบริจาค


Q : เปิดบัญชีรับบริจาคในชื่อเพจ ทำได้ไหม

A : ทำได้ แต่ชื่อเพจต้องเป็นชื่อเดียวกับนามที่ใช้จดทะเบียนประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

นั่นหมายความว่า ชื่อเพจนั้นคือชื่อร้าน หรือ ชื่อบริษัท

และต้องขออนุญาตในเขตพื้นที่อำเภอ ที่มีการเปิดรับบริจาคเช่นกัน

สรุปแล้ว ผู้ที่เปิดบัญชีรับบริจาคส่วนใหญ่ ในรูปแบบที่ตรวจสอบได้ จะต้องเป็นมูลนิธิ บริษัท หรือองค์กร ที่สามารถตรวจสอบบัญชีได้อย่างโปร่งใส ส่วนการโอนเข้าบัญชีบุคคลเป็นการส่วนตัว จะต้องมีผู้ร้องทุกข์ถึงจะตรวจสอบได้ อย่างไรก็ดี ผู้เปิดรับบริจาคก็มีทั้งผู้บริสุทธิ์ใจและมิจฉาชีพ เพราะฉะนั้นหากคุณเป็นผู้บริจาค และต้องการให้ความช่วยเหลือถึงมือผู้ประสบภัยจริง ก็เลือกเดินทางไปเอง หรือผ่านหน่วยงานที่เชื่อถือได้ดีกว่า

ที่มา :  กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย 


อ่านเพิ่มเติม :

Let's block ads! (Why?)


July 01, 2020 at 02:43PM
https://ift.tt/2NX2EpT

เตือนเช็กก่อนโอน "การเปิดบัญชีรับเงินบริจาค" แบบไหนถูกกฎหมาย - ไทยรัฐ
https://ift.tt/36KG1NQ
Home To Blog

No comments:

Post a Comment